000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > ระบบเสียง PA > เครื่องเสียง PA > ทำไมต้องเล่นเครื่องเสียง 2 ยุค
วันที่ : 13/01/2016
6,471 views

ทำไมต้องเล่นเครื่องเสียง 2 ยุค

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

สำหรับนักเล่นเครื่องเสียงแล้ว มักเลือกเครื่องเสียงในสไตล์ที่ตัวเองชอบ โดยคาดหวังว่า เครื่องเสียงนั้นๆ(ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่น, ปรีแอมป์, พาวเวอร์แอมป์, ลำโพง, สาย, อุปกรณ์เสริมสารพัด) จะช่วยขัดเกลาให้ได้เสียงในสไตล์ที่ตนต้องการ ไม่ว่าจะฟังจากจานเสียงแผ่นไหน, CD อัลบัมไหน

       ในอีกแนวทางหนึ่งของนักเล่น จะเป็นกลุ่มที่อิงกับเสียงที่ถูกต้อง เป็นธรรมชาติ, เป็นกลาง ดีมาดีออก เลวมาเลวออก ไม่ชอบแต่งเติมบุคลิกเสียงใดๆเข้าไป

       สองแนวทางนี้ เรายึดแนวไหนดี

       แนวแรก แต้มสีสัน อาจฟังเตะหูดีในตอนแรก แต่สักพักก็จะเบื่อ เนื่องจากความจำเจ ฟังเพลงอะไรๆ แนวไหน ก็ออกมาเป็นแนวเดิมแบบเดียวตลอด

       แนวหลัง ให้เสียงหลากหลายอย่างไม่รู้เบื่อ จะมีทั้งเข้าหู และแยงหู บางแผ่นออกมาดีเลิศ บางแผ่น(เพลง) แทบฟังไม่ได้เลย

       แต่ไม่ว่าจะยึดแนวไหน มีสิ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ นั่นคือ ยุคใครยุคมัน

       เราต้องไม่ลืมว่าในการบันทึกเพลงแต่ละยุค แน่นอนว่าช่างเสียงก็จะตกแต่งมาสเตอร์ให้เหมาะลงตัวกับเครื่องเสียงในยุคนั้นๆ

       เครื่องเสียงได้ผ่านมาหลายยุค ไล่ตั้งแต่ยุคเครื่องเล่นจานเสียง(จานเสียง), ยุคเทปม้วนปิด, ยุคเทปคาสเซต, ยุคแผ่น CD, ยุคดาวน์โหลด

       เครื่องขยายผ่านมาตั้งแต่ยุคเครื่องหลอดกำลังขับต่ำมาก 3-5 วัตต์ต่อข้าง ยุคโมโน ยุคสเตอรีโอ ยุคเซอราวด์ จนถึงเครื่องหลอดกำลังขับ 15-40 วัตต์/ข้าง (เมื่อย้อนกลับไป 40-50 ปี) ไล่มาถึงยุคคทรานซิสเตอร์ต้นๆ ยุคกลาง ยุคปลาย

       ยังไม่นับสไตล์เพลง แน่นอนว่า แนวเพลง, การร้อง, การบรรเลง เมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว กับยุคกลาง และยุคปัจจุบัน แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ยุครุ่นพ่อ, ปู่ของเรา เพลงจะไม่กระโชกโฮกฮาก ไม่เร่งเร้ามากนัก ดนตรีไม่ซับซ้อน หรือออกหน้า ส่วนใหญ่เป็นแค่เสริม, คลอ, ฉากหลังสไตล์จะออกช้าๆ ประเล้าประโลม เน้นเสียงร้อง, คำร้อง, อากัปกริยา, ลีลา การสอดใส่อารมณ์ของนักร้องล้วนๆ ไม่ขายเอฟเฟกต์ หรือจังหวะเต้นซ้ำๆ ซากๆ อย่างปัจจุบัน เน้นน้ำเสียง, ทั้งเสียงร้องละดนตรี มากกว่าระบบบันทึก หรือ เล่นกับมิติเสียง (เอฟเฟกต์ต่างๆ)

       เครื่องเสียง ในยุคนั้นจึงต้องจูนทำมาอย่างสอดคล้องรับกับการทำงานที่ง่ายๆ ไม่โหด แต่เข้าถึงจิตวิญญาณได้อย่างลึกซึ้ง ไม่ต้องสวิงเสียงได้กว้างๆ ความถี่เสียงแค่ครบก็พอไม่ต้องกว้างสุดๆ ไม่ต้องเน้นการแยกมิติสเตอริโอ หรือมิติโฟกัส ขอแต่ได้บรรยากาศก็พอ

        ถ้าทำได้อย่างลงตัว สอดรับกัน ก็จะได้สุ้มเสียง บรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ ขณะบันทึกการแสดงดนตรีนั้นๆ อย่างที่สุด

       ในทางตรงกันข้าม เครื่องเสียงในยุคใหม่ปัจจุบันต้องถูกออกแบบมาให้ตอบสนองได้ฉับไว เข้มข้น ถึงลกถึงคน สวิงเสียงค่อยสุดไปดังสุด ได้กว้างมากๆ (มากกว่าในอดีตเกือบ 30dB ก็มี) ต้องหยุดการสั่นค้างของดอกลำโพงได้กระชับที่สุด เร็วที่สุด เพื่อรองรับกับเพลงที่กระแทกกระทั้น เข้มข้น ฉับไว ตั้งแต่เสียงความถี่ต่ำสุดๆ ถึงสูงสุดๆ ต้องให้มิติสเตอริโอที่โฟกัสแบบจับวางเพื่อโชว์เอฟเฟกต์ได้ถนัดมือ

       จะเห็นว่าการสอดรับ คล้องจองกัน แบ่งหยาบๆ ได้เป็น 2 ยุค ถึงยุค 45-60 ปีที่แล้ว และยุค 30 ปีมานี้ เพื่อให้ได้ผลสุดท้ายของการฟัง เป็นไปตามที่ผู้ประพันธ์เพลงอยากให้เป็น (สมจริง)

       จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะทำให้เครื่องเสียงสักชุด สักชิ้น ให้รองรับได้ทั้ง 2 ยุค ทั้งสไตล์เพลงและการบันทึก(มาสเตอร์) พูดง่ายๆว่า one never fit for all

       ถ้าคุณเป็นนักฟังที่เลือกฟังเพลงยุคช่วงใดช่วงหนึ่งโดยเฉพาะ ก็เป็นไปได้ที่จะหาเครื่องเสียงที่เข้ากับเพลงยุคนั้นๆ และเล่นแค่ชุดเดียว

       แต่ถ้าคุณเป็นนักฟังที่หลากหลาย มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสฟังเพลงผ่านมาหลายยุค และชอบทุกสไตล์ ก็ต้องเลือกว่าจะเน้นเพลงเก่า เครื่องเสียงยุคเก่า หรือเครื่องเสียงยุคใหม่กับเพลงสมัยใหม่ ให้น้ำหนักยุคไหนมากกว่า ก็เลือกเครื่องเสียงที่เอนไปทางยุคนั้น โดยยอมลดทอนคุณภาพเสียงจากเพลงอีกยุค

       หรือถ้าคุณมีงบพอ ทางออกที่ดีที่สุดคือ เล่นเครื่องเสียงทั้งสองชุด อาจไม่ต่างกันทั้งชุด ต่างกันที่ภาคขยายหรือลำโพง หรือทั้งสองอย่าง (แต่แหล่งรายการ) อยากให้ยืนที่เครื่องเล่น CD เนื่องจาก หาอัลบัมได้มากกว่า เมื่อเทียบกับจานเสียง (นับล้านอัลบัม CD ต่อจานเสียงอย่างเก่งก็สักพันอัลบัม)

       ขอย้ำว่า นี่ไม่ใช่ปัญหา หรือความแตกต่างที่จะแก้ชดเชยได้ง่ายๆ ด้วยเครื่องแต่งเสียง Equalizer มันยังมีปัจจัย, สาเหตุอื่นๆอีก นอกจากระดับความดังแต่ละความถี่

       เมื่อคิดอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่า เอาเครื่องขยายหลอดอะไรก็ได้มาฟังกับมาสเตอร์เก่าโบราณแล้วจะลงตัว สมจริงไปหมด อย่าลืมว่ามันอาจเข้ากรณีแรกที่ใช้เครื่องหลอดมาช่วยตกแต่ง แต้มเติม ให้ได้เสียงที่ถูกหูก็ได้ แม้เปิดกับมาสเตอร์รุ่นใหม่ๆ เพลงสไตล์ใหม่ๆ เพราะมันเป็นการ “บิดเบือน” ไม่ใช่ “ตามยุคสมัย” จึงมีบุคลิกส่วนตัวที่สลัดไม่ออก จำเจ ฟังนานๆจะเบื่อ แต่กรณีลงตัวตามยุคสมัย(กรณี 2) จะไม่เบื่อ ขอให้เข้าใจและแยกให้ออก

       บางท่านอาจคิดง่ายๆว่า เราน่าจะพอชดเชย ปรับแต่งด้วยอุปกรณ์เสริม อย่างสายไฟ AC, สายสัญญาณเสียง, สายลำโพง, แท่นรองเครื่อง จะได้ไหม จะได้ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องขยายหลอดอีกเครื่อง ลำโพงนั้นไม่เห็นด้วย เพราะสมัยเก่า 40-50 ปี ถึง 60-70 จะเป็นลำโพงฮอร์น ซึ่งหาซื้อยากมากๆ และราคาแพงลิบลิ่ว อีกทั้งตัวตู้ก็ใหญ่โตเกะกะมากๆ คุณภาพเสียงก็ไม่ได้แต้มสีสันมากไป มิติเสียงก็ทำดี, หาดียากมากๆ(ทรวดทรงเสียง)

       ต้องบอกก่อนว่า บุคลิกเสียงของเครื่องหลอดสมัยเพลง 40-50 ปีที่แล้วและปัจจุบันเป็นบุคลิกที่เกิดจากการใช้ไฟเลี้ยงสูงมาก(เป็นร้อยๆโวลต์), การใช้ตัวขยายเป็นหลอดสุญญากาศ(มีผลของ secondary emission หรือฝุ่น ของกระแสอิเล็กตรอนมาช่วยเสริมเสียง), การใช้สายในการเดินเส้นทางสัญญาณ, การไม่คำนึงถึงทิศทางของสายเหล่านี้, การใช้หม้อแปลงขาออก(output transformer) ทั้งหมดคือ องค์ประกอบ, ส่วนผสมแห่ง “เสียงยุคเก่า” ซึ่งสร้าง, เติม ด้วยเครื่องเคียงอื่นๆไม่ได้ ได้ไม่จริง รวมทั้งการเพิ่มตัวแต่งความถี่เสียง       (Equalizer) ก็คนละเรื่องกันเลย

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459